ว่าจะฟังเพลงจากหูฟังและหูฟังสวมศีรษะอย่างปลอดภัย

คำเตือนเกี่ยวกับระดับเสียง


หูที่สามารถปรับเข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่างง่ายดายเป็นคุณสมบัติสำคัญในชีวิตประจำวัน

เช่นเดียวกับความสามารถของดวงตาที่สามารถปรับขยายรูม่านตาได้ในที่สว่างและที่มืด หูก็สามารถปรับความไวต่อสิ่งรอบ ๆ ตัวได้ ในรถไฟใต้ดินที่มีเสียงดัง หูสามารถลดความไวต่อเสียงลงได้ เพื่อให้คุณสามารถหลับได้ ในห้องเงียบ ๆ หูสามารถเพิ่มความไวต่อเสียงเพื่อให้คุณได้ยินเสียงเข็มวินาทีนาฬิกาที่กำลังเดินอยู่ หูปรับความสามารถเหล่านี้เพื่อช่วยคุณระบุและตอบสนองกับสิ่งกระตุ้นที่เข้ามา

คุณอาจตอบสนองกับเสียงดังที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันด้วยคำสบถว่า “โอ้ย!” และถอยห่างจากแหล่งที่มาของเสียง หากคุณไปคอนเสิร์ต ในทีแรกคุณจะตกตะลึงกับผู้คนมากมายที่มารวมตัวกัน คุณอาจรู้สึกว่าเสียงดังเกินไป แต่ภายในไม่กี่นาที หูจะปรับตัวให้เคยชิน และคุณจะไม่รู้สึกอึดอัดอีกต่อไป

การควบคุมความไวต่อเสียงของหูมีอีกหน้าที่ที่สำคัญ นอกเหนือจากแค่ช่วยให้คุณได้เพลิดเพลินกับเสียงเพลง การชื่นชมเสียงดนตรีเองก็มาจากความสามารถของหูในการแยกแยะระหว่างเสียงเล็กและเสียงใหญ่ จะเห็นได้ว่าเสียงมีช่วงเสียง ระดับเสียง และเครื่องดนตรีมากมาย การผลิตและการบันทึกเสียงดนตรีจึงมีท่วงทำนองที่ไพเราะเสนาะหู เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ผู้ฟังได้รับการเอาใจใส่มากขึ้น โดยการจำกัดระดับเสียงลำโพง และการเพิ่มช่วงพักการฟังในการแสดงต่าง ๆ

บางครั้ง คุณแยกแยะไม่ได้ว่าระดับเสียงบางอย่างนั้นดังเกินไป สิ่งที่ฟังดูเหมือนเพราะสำหรับคุณที่จริงแล้วอาจมากเกินไปสำหรับแก้วหู คุณอาจทำให้ประสาทสัมผัสการฟังเสียหายโดยที่ไม่รู้ตัวเลย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับเสียงและระยะเวลาที่ฟัง

ระดับเสียงที่ปลอดภัยในการฟังคืออะไร เสียงเป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่กับมุมมอง หมายความว่า ประเภทดนตรีต่าง ๆ จะมีน้ำหนักและสีสันที่แตกต่างกันไป เราไม่สามารถกำหนดได้ว่าระดับเสียงเท่าใดคือปลอดภัย แต่ต่อไปนี้คือแนวทางบางส่วนที่คุณสามารถปฏิบัติตามได้เพื่อให้การฟังปลอดภัย ตัวอย่างหนึ่งคือรถไฟโดยสาร หากเสียงจากหูฟังของคุณดังเล็ดรอดจนคนอื่น ๆ ในรถไฟก็ได้ยิน แสดงว่าเพลงของคุณดังเกินไป

ในสภาพแวดล้อมที่เสียงดัง คุณอาจเพิ่มระดับเสียงได้เพื่อให้ได้ยินเสียงเพลง ห้องเงียบ ๆ ช่วยให้คุณฟังเพลงด้วยหูฟังแบบเอียร์บัดที่แถมมาด้วยได้ในระดับเสียงที่ “เหมาะสม” แต่สถานที่ที่มีเสียงดังมักบังคับให้ต้องเพิ่มระดับเสียง

ตอนนี้เองที่หูจะปรับความไวต่อเสียงให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของเสียงรบกวนในสิ่งแวดล้อม และการเพิ่มระดับเสียงเพลงต่อมาเพื่อสกัดกั้นเสียงรบกวนออกไป เนื่องจากการปรับนี้เป็นไปโดยอัตโนมัติ คุณอาจฟังเสียงเพลงดังที่เป็นอันตรายต่อไปโดยไม่รู้ตัวแต่อย่างใด

คุณอาจพูดว่า “ฉันบอกไม่ได้เลยว่าเมื่อไหร่ที่เสียงดังเกินไป” จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องใช้มาตรการเชิงรุกในการจัดการระดับเสียงที่คุณฟัง ให้จดบันทึกระดับเสียงที่แสดงในเครื่องเล่นเพลง สภาพแวดล้อมปัจจุบัน หรือลองสอบถามเพื่อน ๆ ว่า พวกเขาฟังเพลงด้วยระดับเสียงขนาดใด ลองทำเช่นนี้ทีละเล็กทีละน้อย การใส่ใจกับระดับเสียงที่คุณใช้ฟังเพลงอาจช่วยลดความเสี่ยงที่จะสูญเสียการได้ยินได้