ว่าจะฟังเพลงจากหูฟังและหูฟังสวมศีรษะอย่างปลอดภัย

สภาพแวดล้อมการฟังที่ปลอดภัย


หูฟังและหูฟังสวมศีรษะช่วยให้คุณสามารถเพลิดเพลินกับเสียงเพลงได้ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน เมื่อเปิดเพลง หูฟังจะปิดกั้นเสียงรอบตัว และแยกคุณออกจากสภาพแวดล้อม หูฟังคัสตอม ซึ่งเป็นหูฟังแบบสั่งทำโดยการสร้างพิมพ์จากหูเป็นตัวอย่างที่ดีของการแยกตัวคุณจากสภาพแวดล้อมรอบข้าง

หูข้างซ้ายและขวาทำงานสอดประสานกันเพื่อประมวลผลเสียงที่อยู่รอบตัว ในขณะที่ประสาทสัมผัสการมองเห็นมีข้อจำกัดอยู่ในขอบเขตของลานสายตา แต่หูจะคอยช่วยตรวจสอบด้านบน ด้านล่าง และสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัวคุณทั้งหมด ซึ่งครอบคลุมขอบเขตมากกว่า 360 องศา

เสียงที่คุณได้ยินทางขวามีที่มาจากแหล่งเสียงทางด้านขวา คำอธิบายนั้นอาจจะฟังดูตื้นเขิน แต่กระบวนการที่ระบบการได้ยินใช้งานที่จริงแล้วค่อนข้างซับซ้อน ขั้นแรกเสียงถูกปล่อยออกมาจากแหล่งเสียง เมื่อมาถึงหูข้างขวา เสียงจะทำให้แก้วหูสั่นสะเทือน ต่อมาเมื่อเสียงเข้าสู่แก้วหูข้างซ้าย ระดับเสียงจะแผ่วลงไประดับหนึ่ง ทั้งนี้ เสียงจะไปถึงหูข้างซ้ายช้ากว่าเล็กน้อย ห่วงโซ่เหตุการณ์นี้โน้มน้าวให้สมองคิดว่า “ทำไม เสียงนั้นมาจากด้านขวา”

จะเกิดอะไรขึ้น หากเราปฏิบัติเช่นเดียวกันนี้แต่มีหูฟังด้วย สมมุติว่าคุณใส่หูฟังในหูข้างขวาและฟังวิทยุ ตอนนี้หูของคุณถูกปิดกั้นเสียงแล้วเป็นส่วนใหญ่ หูข้างขวาจะไม่ ‘ได้ยิน’ เสียงที่มาจากสภาพแวดล้อมรอบ ๆ ตัวคุณจากด้านขวาอย่างชัดเจน เสียงเดินทางรอบศีรษะ แล้วเข้าสู่หูข้างซ้ายโดยตรงมากกว่า การตัดขาดเช่นนี้อาจทำให้สมองคิดว่าเสียงมีที่มาจากด้านซ้าย หรือ เนื่องจากสมดุลด้านซ้าย/ขวาขาดหายไป สมองอาจไม่สามารถบอกทิศทางที่มาของเสียงได้

สิ่งนี้เองจึงเป็นสาเหตุของความสับสนที่เกิดขึ้นจากการใส่หูฟังข้างเดียว ประสาทสัมผัสของคุณ ทั้งการได้ยิน การดมกลิ่น การมองเห็น และการสัมผัส ต่างทำงานสอดประสานกันและกัน แม้ว่าการอุดหูเพียงข้างเดียวไม่ได้ทำให้คุณสับสนไปซะทีเดียว แต่การอุดหูทั้งสองข้างทำให้คุณสับสนได้ มาลองสังเกตตัวอย่างต่อไปนี้ เพื่อทำความเข้าใจว่าการมองเห็นและการได้ยินทำงานร่วมกันอย่างไร หลอดไฟที่ทางเข้ากะพริบที่ด้านขวาของคุณ เสียงดังมาจากด้านซ้าย ในกรณีนี้ คุณน่าจะได้ยินเสียงที่มาจากด้านซ้ายด้วยหูขวา นี่คือการทำงานประสานกันของประสาทสัมผัสการมองเห็นและการได้ยิน

กล่าวอีกอย่างหนึ่ง แม้ว่าการได้ยินจะไม่สมบูรณ์ คุณก็ยังสามารถคาดคะเนต้นกำเนิดของเสียงได้ สภาพแวดล้อมการฟังที่ปลอดภัยเป็นเรื่องหนึ่ง สภาพแวดล้อมที่อันตราย เช่น ถนน ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง โดยเฉพาะในสภาพแวดล้อมที่หูต้องรับข้อมูลสำคัญที่ตามองไม่เห็น ซึ่งการรับข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ให้เร็วที่สุดนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง ข้อนี้เป็นจริงโดยเฉพาะเมื่อคุณเดินไปตามถนนแล้วมีรถแล่นเข้าหาคุณจากด้านหลัง

การระบุแหล่งที่มาและลักษณะของเสียงยิ่งสำคัญกว่าแค่การได้ยินเสียง ยิ่งคุณสามารถประมวลผลข้อมูลเกี่ยวกับเสียงได้มากเท่าไหร่ คุณจะยิ่งสามารถตัดสินใจอย่างปลอดภัยและถูกต้องเกี่ยวกับเสียงและสภาพแวดล้อมที่อยู่รับตัวคุณได้มากขึ้นเท่านั้น หูช่วยกลั่นกรองการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในสภาพแวดล้อมที่เป็นภัยคุกคามออกจากสิ่งที่ไม่เป็นภัย หูที่ได้รับข้อมูลช่วยให้สมองตัดสินใจได้ว่าเสียงใดต้องใช้ประสาทสัมผัสอื่น ๆ เช่น การมองเห็น เพื่อตอบสนองกับสถานการณ์หนึ่ง ๆ หรือไม่ คุณจะสามารถป้องกันตัวเองจากอันตรายรอบด้านได้ดีที่สุด เมื่อสมองสามารถตัดสินใจในระดับจิตใต้สำนึกเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมโดยมีข้อมูล

หูมีบทบาทสำคัญในกิจกรรมระดับจิตสำนึก เช่น การสนทนา และ ฟังดนตรี และยังมีบทบาทสำคัญในการรับรู้ระดับจิตใต้สำนึก และการระบุภัยอันตราย เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่อันตราย เป็นเรื่องสำคัญที่คุณต้องไม่ทำสิ่งใด ๆ ที่ขัดขวางการทำงานของหู